เมื่อวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2568 กองพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้จัดโครงการอบรมการจัดทำ Gap Analysis สำหรับหลักสูตรที่ยังไม่ได้ใช้เกณฑ์ AUN-QA Version 4.0 ณ ห้องสิริคุณากร 3 อาคารสิริคุณากร ชั้น 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เกณฑ์ AUN-QA ในการพัฒนาและยกระดับหลักสูตร ให้แก่หลักสูตรที่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการประกันคุณภาพตามเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0 ซึ่งต้องการการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการปฏิบัติที่การดำเนินงานตามเกณฑ์ AUN-QA เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรมีความท้าทายและก้าวไปสู่มาตรฐานที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้กำหนดนโยบายในการนำเกณฑ์การประกันคุณภาพของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA) Version 4.0 มาใช้เป็นกรอบในการประเมินและพัฒนาคุณภาพหลักสูตร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ซึ่งมีความเข้มข้นและครอบคลุมมิติของการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ตั้งแต่การออกแบบหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล ไปจนถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิต การนำเกณฑ์ AUN-QA มาใช้จะช่วยให้หลักสูตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นสามารถเปรียบเทียบและทัดเทียมกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยชั้นนำในอาเซียนและระดับโลกได้ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.นพ. ศักดา วราอัศวปติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติมาเป็นประธานในการกล่าวเปิดโครงการในครั้งนี้ โดยมีผู้บริหารระดับคณะ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ตลอดจนผู้สนใจเข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คน
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การจัดทำ Gap Analysis สำหรับหลักสูตรที่ยังไม่ได้ใช้เกณฑ์ AUN-QA Version 4.0" ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ภาวดี ภักดี ภักดี (CUPT Internal Program Assessor) เป็นวิทยากรบรรยาย และนำการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้คณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ของหลักสูตรตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การวางแผนการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐาน AUN-QA ได้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถระบุ Gap ในแต่ละเกณฑ์คุณภาพได้ ผู้บริหารระดับหลักสูตรเกิดกระบวนการเรียนรู้และนำเกณฑ์ AUN-QA ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตร ได้ฝึกวิเคราะห์และประเมินตนเองเพื่อให้ทราบถึงสิ่งที่ต้องพัฒนา รวมถึงการรายงานผลการดำเนินงานที่มีคุณภาพ เพื่อสามารถยกระดับคุณภาพหลักสูตรสู่มาตรฐานสากลและรองรับการตรวจประเมินในอนาคตได้ และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของมหาวิทยาลัยในระยะยาว